ปัจจัยที่มีผล




             ปัจจัยที่มีอิทธิพลและส่งผลต่อการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา
     กลยุทธ์การจัดทำหลักสูตรสถานศึกษาตามกรอบหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน  พุทธศักราช  2551 ของสถานศึกษาทุกแห่ง  ที่สำคัญที่สุดคือ การรู้จักและเข้าใจบริบททางสังคมที่สถานศึกษาตั้งอยู่  อันประกอบด้วย บริบททางสังคม
       
      นอกจากนี้ยังนี้ยังมีสถานการณ์ความอ่อนแอของสถาบันครอบครัว ตลอดจนปัญหาการมีเพศสัมพันธ์
ในวัยรุ่นที่เราต้องสร้างระบบคุณค่าที่ถูกต้องให้กับพวกเขาโดยผ่านกระบวนการเรียนรู้ของหลักสูตรสถานศึกษา  บริบททางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศที่มีบทบาทต่อการเรียนการสอนของผู้เรียนที่มองข้ามไม่
ได้เพราะเป็นส่วนหนึ่งในทุกจังหวะของชีวิต
         บริบทต่างๆที่กล่าวมาจะเป็นข้อมูลสำคัญสำหรับการกำหนดวิสัยทัศน์ของหลักสูตรสถานศึกษารวม
ทั้งกิจกรรมในหลักสูตรพอสังเขปดังนี้
          ปัจจัยทางด้านสังคม
       ทิศทางการศึกษาในโลกยุคใหม่
              การศึกษาในโลกยุคใหม่หรือต่างประเทศวิเคราะห์เป็นภาพรวมมีทิศทางที่ชัดเจนในประเด็นต่อไปนี้
 1) มีการปรับหลักสูตร การเรียนการสอนให้เหมาะสมกับโลกอุตสาหกรรมที่สมดุลระหว่างสังคม
 ฐานความรู้กับสังคมสมานฉันท์
         .    2) ทุกส่วนเรียกร้องคุณภาพ ประสิทธิภาพ ความรับผิดชอบใช้เทคโนโลยีช่วยสอน
              3) การทำงานประสานเครือข่ายมากขึ้น
              4)  การทำงานมุ่งสานผลประโยชน์
           
        แนวโน้มเกี่ยวกับรูปแบบการจัดการศึกษายุคใหม่

           ยุคปัจจุบันเป็นยุคที่ต้องใช้รูปแบบการจัดการศึกษาที่เชื่อมโยงกับความเข้มแข็งของชุมชนและ     สังคม ดังนั้นแนวโน้มเกี่ยวกับรูปแบบการจัดการศึกษายุคใหม่จึงมีลักษณะดังต่อไปนี้
          1)การพัฒนาสถานศึกษาให้สามารถบริหารจัดการอย่างเข้มแข็งทางด้านวิชาการ ในการควบคุมคุณภาพการจัดการศึกษาให้บรรลุเป้าหมายของหลักสูตรอย่างสอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียนและสังคม
         2) สถานศึกษาเป็นรากฐานการสร้างชุมชนเข้มแข็ง จัดการเรียนการสอนในสิ่งที่เป็นปัญหา ความต้องการของชุมชน ส่งผ่านองค์ความรู้  ระบบความคิด ระบบคุณค่า ตลอดจนค่านิยมจากเด็กไปยังผู้ปกครอง
        3) การสร้างเครือข่ายมาช่วยสถานศึกษา ผู้ปกครอง ผู้นำชุมชน ภูมิปัญญาท้องถิ่น องค์กรบริหารส่วนตำบล หน่วยงานของรัฐและเอกชน
         ปัจจัยบริบททางด้านกลุ่มเป้าหมาย (ผู้เรียน)
                ลักษณะนิสัยของ Generation   Y
       คนยุค Generation   Y มีลักษณะนิสัยเฉพาะตัวที่ต้องวิเคราะห์เชื่อมโยงไปสู่การออกแบบหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอน ในสถานศึกษา ดังนี้
             1) มีชีวิตอยู่กับปัจจุบัน
             2) มีความกล้าที่จะรับผิดชอบในสิ่งที่ทำ
            3) ชอบตั้งคำถาม มีสไตล์เปลี่ยนแปลงตัวเร็ว
              4) มีความมุ่งมั่นและเห็นความสำคัญตนเอง
              5) มีความรับชอบในภารกิจของตนเองอย่างชัดเจน

           คุณค่าร่วมสมัย
       สิ่งที่ปลูกฝังให้กับผู้เรียนเพื่อป้องกันปัญหาการมีเพศสัมพันธ์ในวัยเรียน คือ ระบบคุณค่าที่ถูกต้องดีงาม สิ่งที่เป็นปัญหาคือระบบคุณค่าที่ไม่พึงประสงค์ในสังคมไทยปัจจุบัน คือ
         1) ระบบคุณค่าของสังคมกำลังประสบปัญหา
         2)  หนุ่มสาวร่วมสมัยให้คุณค่ากับการมีเงิน มากกว่าการมีคุณธรรม
         3)  ยกย่องสยบยอมผู้มีอำนาจมากกว่าผู้มีคุณธรรม
         4)  ผู้ชำนาญทั้งหลายก็ชำนาญอยู่เรื่องเดียวแต่ยังไม่ข้าใจอีกหลายเรื่อง
 
               ปัจจัยบริบททางด้านเทคโนโลยี
                           ปรัชญาการทำงานของ  Google
       
                1)  วัฒนธรรมองค์กรของ  Google
                  2)  วัฒนธรรม STEP / UPของแมคโดนัลด์
                 3) บทบาทใหม่ของสื่อ  4c
              4) ทวิสเตอร์ (Twitter ) เฟสบุคส์  (Facebook)
   

             ปัจจัยบริบททางด้านคุณธรรมจริยธรรม
                         ฐานความคิดเกี่ยวกับคุณธรรมจริยธรรม
                            ความดีทำพร้อมๆ กันทำอย่างสม่ำเสมอจะพัฒนาเป็น ค่านิยม ทำอย่างเห็นคุณค่าจะพัฒนาเป็น คุณธรรม ซึ่งเป็นคุณสมบัติที่ดีทางจิตใจ การประพฤติปฏิบัติในคุณธรรมเป็นจริยธรรมที่ดี
                 จริยธรรมสากล 
       1) เคารพคุณค่าความเป็นมนุษย์
       2)ปฏิบัติต่อผู้อื่น ด้วยความซื่อสัตย์ยุติธรรม
       3) คิด ทำ  พูด แต่สิ่งที่จริง
       4) เคารพ มีเมตตากรุณาต่อกัน 
  คุณธรรมคุณภาพสากล 
1)การตรงต่อเวลา
2) ความซื่อสัตย์
3)ความรับผิดชอบ
4)การมีวินัยในตนเอง
5) การเสียสละ และจิตสาธารณะ

สิ่งทีจำเป็นของความเป็นมนุษย์
1) สิ่งที่ต้องทำ คือ ความดี
2) สิ่งที่ต้องทำ คือ คุณธรรม
3) สิ่งที่ต้องจำ  คือ ความกตัญญู
4) สิ่งที่ต้องรู้    คือ  รากเหง้าของบรรพบุรุษ