ผลการวิจัย













ศึกษาหลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียนสามบ่อวิทยา อ.ระโนด จ.สงขลา on PhotoPeach



ศึกษาหลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียนสามบ่อวิทยา อ.ระโนด จ.สงขลา on PhotoPeach








ประวัติความเป็นมาและข้อมูลพื้นฐานของโรงเรียน
โรงเรียนสามบ่อวิทยาเดิมเป็นโรงเรียนราษฎร์ ชื่อโรงเรียนสามบ่อ วิทยาทาน สังกัดสำนักงานการศึกษาเอกชนกระทรวงศึกษาธิการ ตั้งอยู่ใน บริเวณวัดสามบ่อ เปิดสอนมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2530 โดยเปิดสอนระดับชั้น ป.5 – ม.ศ.3 อยู่ในความอุปการะของท่านพระครูอุดมคณารักษ์ (นิ่ม อุตโม) อดีตเจ้าอาวาส วัดสามบ่อ
วันที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2521 ได้จัดตั้งโรงเรียนสามบ่อวิทยา สังกัดกรมสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ ในเนื้อที่ประมาณ 35 ไร่ เปิดทำการสอนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นจำนวน 10 ห้องเรียน โดย นายแปลก ทองสังข์ ดำรงตำแหน่งอาจารย์ใหญ่ มีครูจำนวน 19 คน นักการภารโรง จำนวน 2 คน ในปีการศึกษา 2521 ยังไม่มีอาคารเรียน จึงต้องใช้อาคารเรียนของโรงเรียนหลังเดิมซึ่งตั้งอยู่ในวัดสามบ่อ ทำการเรียน การสอนชั่วคราว
ปีการศึกษา 2529 โรงเรียนสามบ่อวิทยาได้รับอนุมัติ ให้เข้าโครงการโรงเรียนมัธยมศึกษา เพื่อพัฒนาชนบท ( ม.พ.ช.) ปีการศึกษา 2530 โรงเรียนสามบ่อวิทยาได้รับอนุมัติให้เข้า โครงการขยายโอกาสทาง การศึกษา (ค.อมต.สศ.) เป็นโครงการที่ไม่เรียกเก็บเงินค่าบำรุงการศึกษา และจัดให้มีการบริการหนังสือยืมเรียนกับนักเรียนทุกคน
ปีการศึกษา 2546 โรงเรียนสามบ่อวิทยาได้รับการคัดเลือกให้ ได้รับรางวัลพระราชทานโรงเรียนมัธยมขนาดเล็ก ของกระทรวงศึกษาธิการ
ปัจจุบันโรงเรียนสามบ่อวิทยาเปิดทำการสอนตั้งแต่ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ถึง ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1–3 มีจำนวน 15 ห้องเรียน และระดับชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 4–6 มีจำนวนห้องเรียนระดับชั้นละ 1 ห้องเรียน

ดอกไม้ประจำโรงเรียน ดอกบานบุรี

วิสัยทัศน์ ของโรงเรียนสามบ่อวิทยา
หลักสูตรโรงเรียนสามบ่อวิทยา พุทธศักราช 2553 ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ มุ่งพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณธรรมนำความรู้ เน้นระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ทุกคนมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการสู่มาตรฐานการศึกษา ภายในปี 2554



เป้าหมายของโรงเรียนสามบ่อวิทยา มีดังต่อไปนี้

1. สถานศึกษามีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเฉลี่ยของนักเรียนใน 5 กลุ่มสาระการเรียนรู้หลัก ไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ภายในปี 2554
2. สถานศึกษาทุกแห่งผ่านการรับรองมาตรฐานการประเมินคุณภาพภายนอก และมีผลการประเมินระดับดี/ดีมาก ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80
3. สถานศึกษาทุกแห่งจัดทำและใช้หลักสูตรที่เอื้อต่อการพัฒนาคุณภาพของผู้เรียน มีการใช้แหล่งเรียนรู้ และการสร้างเครือข่ายความร่วมมือจากชุมชน สถาบันการศึกษา แหล่งวิชาการ สถานประกอบการ และภูมิปัญญาในท้องถิ่น เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่เชื่อมโยงกับแผนพัฒนากลุ่มจังหวัดและจังหวัด
4. สถานศึกษาทุกแห่งมีการพัฒนาครู และมีผลประเมินมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน มาตรฐานที่ 10 : ครูมีความสามารถในการจัดการเรียนการสอนอย่างมีประสิทธิภาพและเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญอยู่ในระดับดี/ดีมาก
5. สถานศึกษาจัดระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนที่เสริมสร้างพัฒนาการของผู้เรียนเต็มตามศักยภาพ พร้อมกับคุณลักษณะอันพึงประสงค์และสมรรถนะสำคัญของผู้เรียนตามที่กำหนดไว้ในหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2544 และหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551
6. ตามสถานศึกษาได้รับการพัฒนาให้มีมาตรฐานคุณภาพที่ยอมรับของสังคมเพิ่มมากขึ้น
7. สถานศึกษามีความพร้อมด้านอาคารสถานที่ ครุภัณฑ์ อุปกรณ์ สื่อเทคโนโลยี สอดคล้องกับแผนการจัดขั้นเรียน
8. สถานศึกษามีครูเพียงพอ อัตราส่วน นักเรียน: ครู เป็นไปตามเกณฑ์ มีครูครบทุกกลุ่ม สาระ และเพียงพอตามแผนการจัดขั้นเรียนซึ่งกำหนดให้มีนักเรียนต่อ ห้องเรียนไม่เกิน 40 คน
9. สถานศึกษามีอัตราส่วนนักเรียน:คอมพิวเตอร์ ต่ำกว่า 20:1 และสามารถใช้เทคโนโลยีทาง การศึกษาเป็นเครื่องมือเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารและการจัดการเรียนรู้

บริบท/ลักษณะของชุมชนหรือท้องถิ่นที่มีผลต่อการพัฒนาหลักสูตร

คนในชุมชนมีส่วนใหญ่ประกอบอาชีพประมงและการเกษตร ทางโรงเรียนจึงได้จัดทำหลักสูตรให้สอดคล้องกับบริบทชุมชน โดยการส่งเสริมให้นักเรียนมีความรู้เกี่ยวกับอาชีพประมงและการเกษตรของคนในท้องถิ่น จึงทำให้ทั้งโรงเรียนและชุมชนมีความสัมพันธ์อันดีต่อกัน
และนอกจากนี้แล้วคนในชุมชนบางส่วนอ่านหนังสือไม่ออก เขียนไม่ได้ ทางโรงเรียนจึงได้จัดทำหลักสูตร โดยมีรายวิชาเพิ่มเติมที่ส่งเสริมการอ่าน เช่น วิชาหลักการอ่าน เพื่อเป็นการส่งเสริมให้เด็กนักเรียนอ่านคล่องและอ่านอย่างถูกต้อง อันจะทำให้นักเรียนมีคุณภาพมากขึ้น


กระบวนการพัฒนาหลักสูตร
สำนักเขตพื้นที่การศึกษา ได้ขอตัวตัวแทนแต่ละกลุ่มสาระจากโรงเรียนเพื่ออบรมหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 และกระบวนการจัดทำหลักสูตร ปีละ 2 ครั้ง เมื่ออบรมเสร็จก็จะนำมาเผยแพร่และจัดอบรมครูทุกคนในโรงเรียน และใช้เวลาในการจัดทำรูปเล่ม 1 สัปดาห์
นอกจากสำนักเขตพื้นที่การศึกษาแล้วก็ยังมีศึกษานิเทศก์ให้คำแนะนำเพิ่มเติมและจัดอบรมในการจัดทำหลักสูตรด้วย
ปัญหาที่เกิดโดยส่วนมากจากการที่ไปอบรมการจัดทำหลักสูตร คือครูยังไม่เข้าใจหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551เพราะยังเป็นข้อมูลที่ใหม่ และตัวแทนที่ไปอบรมมีจำนวนน้อย จึงทำให้ได้รับการถ่ายทอดที่ไม่ดีนัก
กระบวนการพัฒนาหลักสูตรของโรงเรียนสามบ่อวิทยา จะมี PDCA ในการจัดทำหลักสูตร มีการจัดวางแผนโดยดูจากวิสัยทัศน์ของโรงเรียน และดูบริบทในหลายๆเรื่องแล้วนำมาผสมผสานกัน เช่น ถ้าจะเน้นกลุ่มอาชีพ และวิชาเพิ่มเติม จะต้องจัดเตรียมไว้ให้นักเรียน และดูว่าต้องการให้เป็นไปในทิศทางไหนโดยดูจากนโยบายของโรงเรียน

ในแต่ละชั้นปีมีรายวิชาเพิ่มเติมและกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนดังนี้

• รายวิชาเพิ่มเติมของระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นมีดังนี้
1. ระดับชั้นม.1
ภาคเรียนที่ 1
ง21241 พิมพ์ดีดไทย-อังกฤษ จำนวน 1.0 หน่วยกิต
ท21202 ห้องสมุดเพื่อการค้นคว้า จำนวน 1.0 หน่วยกิต
เลือกเพิ่มเติม จำนวน 1.0 หน่วยกิต
ภาคเรียนที่ 2
ง21242 โปรแกรมประมวลคำ 1 จำนวน 1.0 หน่วยกิต
เลือกเพิ่มเติม จำนวน 2.0 หน่วยกิต

2. ระดับชั้น ม.2
ภาคเรียนที่ 1
ง22243 โปรแกรมประมวลคำ 2 จำนวน 1.0 หน่วยกิต
เลือกเพิ่มเติม จำนวน 2.0 หน่วยกิต
ภาคเรียนที่ 2
ง22244 โปรแกรมนำเสนอ จำนวน 1.0 หน่วยกิต
เลือกเพิ่มเติม จำนวน 2.0 หน่วยกิต

3. ระดับชั้น ม.3
ภาคเรียนที่ 1
ง23245 โปรแกรมตารางทำงาน 1 จำนวน 1.0 หน่วยกิต
เลือกเพิ่มเติม จำนวน 2.0 หน่วยกิต
ภาคเรียนที่ 2
ง21246 โปรแกรมตารางทำงาน 2 จำนวน 1.0 หน่วยกิต
เลือกเพิ่มเติม จำนวน 2.0 หน่วยกิต

กิจกรรมพัฒนาผู้เรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นมีดังต่อไปนี้
ภาคเรียนที่ 1
กิจกรรมแนะแนว
ลูกเสือเนตรนารี
กิจกรรมชุมนุม
บำเพ็ญประโยชน์ต่อสังคม
รวม 14.0 หน่วยกิต

ภาคเรียนที่ 2
กิจกรรมแนะแนว
ลูกเสือเนตรนารี
กิจกรรมชุมนุม
บำเพ็ญประโยชน์ต่อสังคม
รวม 14.0 หน่วยกิต
• รายวิชาเพิ่มเติมของระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายมีดังนี้
แผนการเรียนวิทยาศาสตร์ - คณิตศาสตร์
1. ระดับชั้น ม.4
ภาคเรียนที่ 1
ค31201 คณิตศาสตร์ จำนวน 1.0 หน่วยกิต
ง31241 โปรแกรมกราฟฟิก จำนวน 1.0 หน่วยกิต
และมัลติมิเดีย
ว31201 ฟิสิกส์ 1 จำนวน 2.0 หน่วยกิต
ว31221 เคมี 1 จำนวน 1.5 หน่วยกิต
ว31241 ชีววิทยา 1 จำนวน 1.5 หน่วยกิต

ภาคเรียนที่ 2
ค31202 คณิตศาสตร์ จำนวน 1.0 หน่วยกิต
ง31242 ฮาร์ดแวร์ จำนวน 1.0 หน่วยกิต
ว31202 ฟิสิกส์ 2 จำนวน 2.0 หน่วยกิต
ว31222 เคมี 2 จำนวน 1.5 หน่วยกิต
ว31242 ชีววิทยา 2 จำนวน 1.5 หน่วยกิต

2. ระดับชั้น ม.5
ภาคเรียนที่ 1
ค32201 คณิตศาสตร์ จำนวน 1.0 หน่วยกิต
ง32243 ระบบปฏิบัติการ จำนวน 1.0 หน่วยกิต
และซอฟแวร์ประยุกต์
ว32203 ฟิสิกส์ 3 จำนวน 2.0 หน่วยกิต
ว32223 เคมี 3 จำนวน 1.5 หน่วยกิต
ว32243 ชีววิทยา 3 จำนวน 1.5 หน่วยกิต

ภาคเรียนที่ 2
ค32202 คณิตศาสตร์ จำนวน 1.0 หน่วยกิต
ง32244 ระบบฐานข้อมูล จำนวน 1.0 หน่วยกิต
เบื้องต้น
ว32204 ฟิสิกส์ 4 จำนวน 2.0 หน่วยกิต
ว32224 เคมี 4 จำนวน 1.5 หน่วยกิต
ว32244 ชีววิทยา 4 จำนวน 1.5 หน่วยกิต


3. ระดับชั้น ม.6
ภาคเรียนที่ 1
ค33201 คณิตศาสตร์ จำนวน 1.0 หน่วยกิต
ง33245 การเขียน จำนวน 1.0 หน่วยกิต
โปรแกรมเบื้องต้น
ว33205 ฟิสิกส์ 5 จำนวน 2.0 หน่วยกิต
ว33225 เคมี 5 จำนวน 1.5 หน่วยกิต
ว33245 ชีววิทยา 5 จำนวน 1.5 หน่วยกิต

ภาคเรียนที่ 2
ค33202 คณิตศาสตร์ จำนวน 1.0 หน่วยกิต
ง33246 การพัฒนา จำนวน 1.0 หน่วยกิต
เว็บไซด์
ว33206 ฟิสิกส์ 6 จำนวน 2.0 หน่วยกิต
ว33226 เคมี 6 จำนวน 1.5 หน่วยกิต
ว32246 ชีววิทยา 6 จำนวน 1.5 หน่วยกิต


แผนการเรียนไทย – สังคม
1. ระดับชั้น ม.4
ภาคเรียนที่ 1
ง31241 โปรแกรมกราฟิก จำนวน 1.0 หน่วยกิต
และมัลติมิเดีย
เลือกเพิ่ม จำนวน 5.0 หน่วยกิต
ภาคเรียนที่ 2
ง31242 ฮาร์ดแวร์ จำนวน 1.0 หน่วยกิต
เลือกเพิ่ม จำนวน 5.0 หน่วยกิต


2. ระดับชั้น ม.5
ภาคเรียนที่ 1
ง32243 ระบบปฏิบัติการ จำนวน 1.0 หน่วยกิต
และซอฟแวร์ประยุกต์
เลือกเพิ่ม จำนวน 5.0 หน่วยกิต


ภาคเรียนที่ 2
ง32244 ระบบฐานข้อมูล จำนวน 1.0 หน่วยกิต
เบื้องต้น
เลือกเพิ่ม จำนวน 5.0 หน่วยกิต
3. ระดับชั้น ม.6
ภาคเรียนที่ 1
ง33245 การเขียน จำนวน 1.0 หน่วยกิต
โปรแกรมเบื้องต้น
เลือกเพิ่ม จำนวน 5.0 หน่วยกิต
ภาคเรียนที่ 2
ง33246 การพัฒนาเว็บไซด์ จำนวน 1.0 หน่วยกิต

แผนการเรียนอังกฤษ – คณิตศาสตร์
ภาคเรียนที่ 1
1. ระดับชั้น ม.4
ภาคเรียนที่ 1
ค31201 คณิตศาสตร์ จำนวน 1.0 หน่วยกิต
ง31241 โปรแกรมกราฟิก จำนวน 1.0 หน่วยกิต
และมัลติมิเดีย
เลือกเพิ่ม จำนวน 5.0 หน่วยกิต

ภาคเรียนที่ 2
ค31202 คณิตศาสตร์ จำนวน 1.0 หน่วยกิต
ง31242 ฮาร์แวร์ จำนวน 1.0 หน่วยกิต
เลือกเพิ่ม จำนวน 5.0 หน่วยกิต

2. ระดับชั้น ม.5
ภาคเรียนที่ 1
ค32201 คณิตศาสตร์ จำนวน 1.0 หน่วยกิต
ง32243 ระบบปฏิบัติการ จำนวน 1.0 หน่วยกิต
และซอฟแวร์ประยุกต์
เลือกเพิ่ม จำนวน 5.0 หน่วยกิต
ภาคเรียนที่ 2
ค33202 คณิตศาสตร์ จำนวน 1.0 หน่วยกิต
ง33246 การพัฒนาเว็บไซด์ จำนวน 1.0 หน่วยกิต
เลือกเพิ่ม จำนวน 5.0 หน่วยกิต


กิจกรรมพัฒนาผู้เรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายมีดังต่อไปนี้
ภาคเรียนที่ 1
กิจกรรมแนะแนว
กิจกรรมชุมนุม
บำเพ็ญประโยชน์ต่อสังคม
รวม 13.5 หน่วยกิต


ภาคเรียนที่ 2
กิจกรรมแนะแนว
กิจกรรมชุมนุม
บำเพ็ญประโยชน์ต่อสังคม
รวม 13.5 หน่วยกิต




กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน

เป็นกิจกรรมที่จัดให้ผู้เรียนได้พัฒนาความสามารถของตนเองตามศักยภาพ เพื่อมุ่งเน้นเพิ่มเติมจากกิจกรรม ที่ได้จัดให้เรียนรู้ตามกลุ่มสาระการเรียนรู้ทั้ง 8 กลุ่ม การเข้าร่วมและปฏิบัติกิจกรรมที่เหมาะสม ร่วมกับผู้อื่นอย่างมีความสุข เป็นกิจกรรมที่ให้ผู้เรียนเลือกเรียนด้วยตนเองตามความถนัดและความสนใจอย่างแท้จริง การพัฒนาที่สำคัญ ได้แก่ การพัฒนาองค์รวมของความเป็นมนุษย์ให้ครบทุกด้าน ทั้งร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ และสังคม
โดยอาจจัดเป็นแนวทางหนึ่งที่จะสนองนโยบายในการสร้างเยาวชนของชาติให้เป็นผู้มีศีลธรรม จริยธรรม มีระเบียบวินัยและมีคุณภาพเพื่อพัฒนาองค์รวมของความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ ปลูกฝังและสร้างจิตสำนึก ของการทำประโยชน์เพื่อสังคม ซึ่งโรงเรียนสามบ่อวิทยา ได้ดำเนินการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน โดยเน้นให้นักเรียนเกิดคุณลักษณะที่พึงประสงค์ และสอดคล้องกับเป้าหมาย วิสัยทัศน์ของโรงเรียน

สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน
หลักสูตรโรงเรียนสามบ่อวิทยา พุทธศักราช 2553 ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 มุ่งเน้นให้ผู้เรียนเกิดสมรรถนะสำคัญ 5 ประการ ดังนี้
1. ความสามารถในการสื่อสาร เป็นความสามารถในการรับส่งสาร มีวัฒนธรรมในการใช้ภาษาถ่ายทอดความคิด ความรู้ความเข้าใจ ความรู้สึก และทัศนะของตนเองเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารและประสบการณ์อันจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาตนเองและสังคม
2. ความสามารถในการคิด เป็นความสามารถในการคิดวิเคราะห์ การสังเคราะห์ การคิด อย่างสร้างสรรค์ การคิดอย่างมีวิจารณญาณ และการคิดเป็นระบบ เพื่อนำไปสู่การสร้างองค์ความรู้หรือสารสนเทศเพื่อการตัดสินใจเกี่ยวกับตนเองและสังคมได้อย่างเหมาะสม
3. ความสามารถในการแก้ปัญหา เพื่อเป็นความสามารถในการแก้ปัญหาและอุปสรรคต่างๆ ที่เผชิญได้อย่างถูกต้องเหมาะสมบนพื้นฐานของหลักเหตุผล และมีการตัดสินใจที่มีประสิทธิภาพโดยคำนึงถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อตนเอง สังคมและสิ่งแวดล้อม
4. ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต เป็นความสามารถในการนำกระบวนการ
ต่างๆ ไปใช้ในการดำเนินชีวิตประจำวัน การเรียนรู้ด้วยตนเอง การเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง การปรับตัวให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมและสภาพแวดล้อม และการรู้จักหลีกเลี่ยงพฤติกรรมไม่พึงประสงค์ที่ส่งผลกระทบต่อตนเองและผู้อื่น
5. ความสามารถในการใช้เทคโนโลยี เป็นความสามารถในการเลือกและใช้เทคโนโลยี
ต่างๆและมีทักษะกระบวนการทางเทคโนโลยี เพื่อการพัฒนาตนเองและสังคม ในด้านการเรียนรู้ การสื่อสาร การทำงาน การแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ ถูกต้องเหมาะสม และมีคุณธรรม

คุณลักษณะอันพึงประสงค์ของโรงเรียนสามบ่อวิทยา
หลักสูตรโรงเรียนสามบ่อวิทยา พุทธศักราช 2553 ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 มุ่งเน้นผู้เรียนให้มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ เพื่อให้สามมารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้อย่างมีความสุข ในฐานะพลเมืองไทยและพลโลก ดังนี้
1. รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์
2. ซื่อสัตย์สุจริต
3. มีวินัย
4. ใฝ่เรียนรู้
5. อยู่อย่างพอเพียง
6. มุ่งมั่นในการทำงาน
7. รักความเป็นไทย
8. มีจิตสาธารณะ

กิจกรรมและโครงการที่ส่งเสริมศักยภาพของผู้เรียน
มีการพาเด็กไปวัดเพื่อเป็นการปลูกฝังให้เด็กเป็นคนดีมีคุณธรรม และมีทำกิจกรรมโครงการต่างๆ ที่สอดคล้องกับรายวิชาที่เรียน อย่างเช่นในรายวิชาวิทยาศาสตร์ ก็ได้มีการนำเด็กไปเที่ยวในสัปดาห์วิทยาศาสตร์เพื่อศึกษาหาความรู้ใหม่ๆ ในรายวิชาภาษาอังกฤษก็ได้มีการนำเด็กไปท่องเที่ยวที่จังหวัดภูเก็ต ไปสัมภาษณ์ฝรั่ง ซึ่งเด็กจะชอบมาก การที่นำเด็กออกไปศึกษานอกสถานที่นั้นทำให้เด็กเกิดการพัฒนาที่ดีขึ้นกว่าเดิมนอกจากนี้แล้วในรายวิชาศิลปะก็ได้มีการนำเด็กไปเที่ยวทะเลน้อยเพื่อเป็นการสร้างบรรยากาศ และในรายวิชาภาษาไทยก็ได้มีการจดบันทึก ย่อความ เขียนจดหมายต่างๆ แล้วนำไปบูรณาการกับสาระอื่นๆอีกด้วย


นโยบายในการนำหลักสูตรไปใช้เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อผู้เรียน มีดังต่อไปนี้
1.กำหนดแนวทางการบริหารงาน ให้สอดคล้องกับนโยบายของสำนักงาน คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา สงขลา เขต 1
2.บริหารงานโดยยึดหลักธรรมาภิบาล
3.ส่งเสริมการทำงานที่เป็นระบบและการทำงานแบบร่วมแรงร่วมใจ
4.ส่งเสริมการวิจัยเพื่อนำองค์ความรู้มาใช้ในการบริหารและพัฒนา การเรียน การสอน
5.ส่งเสริมให้มีการแลกเปลี่ยนและพัฒนาภาวะผู้นำของครูและทำงานร่วมกัน
6.พัฒนาศักยภาพครูและผู้เรียนอย่างต่อเนื่องและเต็มศักยภาพ
7.ส่งเสริมระบบการนิเทศการเรียนรู้
8.การจัดบรรยากาศการเรียนรู้ที่เอื้อต่อการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน
9.สนับสนุนให้พ่อ แม่ ผู้ปกครองและองค์กรภายนอกเข้ามามีส่วนร่วมใน กิจกรรมของโรงเรียนอย่างมีความหมาย สอดคล้องกับบริบทของโรงเรียนและ ชุมชน


กระบวนการประเมินหลักสูตร
ทางการโรงเรียนสามบ่อวิทยาได้กล่าวโดยรวมว่า ในการประเมินหลักสูตรเราจะต้องใช้หลักสูตรเป็นเวลาอย่างน้อย 1 ปี แล้วนำมาประเมินว่าปีที่ผ่านมามีปัญหาอะไรเกิดขึ้นบ้าง โดยเน้นปรับหลักสูตรให้สมบูรณ์ และโรงเรียนสามบ่อวิทยาได้ใช้หลักสูตรนี้เป็นปีแรก หลักสูตรที่ใช้จะไม่สมบูรณ์ทีเดียว จะต้องมีการประเมินจากผู้สอนและคณะกรรมการการศึกษา หลังจากการสร้างแบบสอบถามออกมาแล้วนั้น จะที่เกี่ยวข้อง คือ ครู นักเรียน ผู้บริหาร และผู้ปกครอง ช่วยกันประเมินหลักสูตรและนำมาแปลค่าว่าหลักสูตรที่ใช้มีข้อดีและข้อเสียอย่างไร และต้องคำนึงถึงหัวข้อที่จะประเมินด้วยว่ามีความสอดคล้องหรือไม่
เนื่องจากโรงเรียนสามบ่อวิทยาได้นำหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 มาใช้เป็นปีแรก จึงไม่สามารถประเมินได้ว่าหลักสูตรที่กำลังใช้อยู่ดีหรือไม่ดีอย่างไร เพราะต้องใช้หลักสูตรให้จบปีการศึกษาก่อนจึงจะประเมินได้
ข้อคิดสำหรับนักศึกษาครูเกี่ยวกับการพัฒนาหลักสูตร

ข้อคิดสำหรับนักศึกษาครูเกี่ยวกับการพัฒนาหลักสูตร
การจะพัฒนาหลักสูตรที่ดีนั้น เราจะต้องศึกษาหลักสูตรที่ใช้ให้เข้าใจก่อน เพื่อที่จะเป็นพื้นฐานในการพัฒนาหลักสูตรหลักสูตรต่อไป อย่างเช่นหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 จะเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ดังนั้นในการพัฒนาหลักสูตรเราต้องคำนึงถึงผู้เรียนเป็นหลัก เมื่อเราเข้าใจหลักสูตรอย่างถ่องแท้เราก็จะสามารถจัดทำหลักสูตรสถานศึกษาที่มีประสิทธิภาพได้
และยังให้ข้อคิดในการสอนเด็กในอนาคตว่า เด็กนั้นมีความหลากหลาย มาจากคนละที่ มีความแตกต่างกันทั้งด้านครอบครัวและฐานะ เราจึงต้องใช้ความใจเย็น ความอดทน และความพยายามในการสอนเด็กให้มาก